ชื่อผลงาน: ชาสมุนไพรจากใบกระท่อม (Tomtomtea)
รางวัลที่ได้รับ: ระดับเหรียญทอง Thialand New Gen Inventors Award 2023 ระดับมัธยมศึกษา กลุ่มอาหาร
สมาชิก: นายอภิรักษ์ เทพรักษ์, นางสาวอทิญา แดงเนื่อง, นางสาวมุ่นเกล้า ช่วยสัน และนางสาวจันทปภา ช่วยเพ็ง
ครูที่ปรึกษา: นายอิทธิฤทธิ์ วรรณโร
ครูที่ปรึกษาร่วม: นางสุพรนิตย์ อนุรักษ์ลิ้มสกุล, นายภานุวัตร ชูราศรี และนางสาวอัจฉรา เปรมปรีดา
หลังจากพืชกระท่อมได้ถูกยกเลิกจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 นับตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2564 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2564 จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจของพืชชนิดนี้ จากข้อมูลและการสำรวจพบว่ากระท่อมเป็นพืชที่พบได้มากในพื้นที่หลายจังหวัดของภาคกลาง และภาคใต้ โดยใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ได้มีการยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่ห้ามใช้พืชกระท่อมเป็นส่วนผสมของอาหารแล้ว จึงสามารถใช้พืชกระท่อมในการประกอบอาหารการเคี้ยวใบ การต้มทำน้ำกระท่อม หรือชากระท่อมดื่มได้ตามวิถีท้องถิ่น
โดยหลังปลดล็อคช่วงแรก ๆ ราคาขายจะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 400-500 บาท ทำให้มีพ่อค้าแม่ค้าหน้าใหม่หลายคนเกิดขึ้นในตลาดใบกระท่อม แต่เนื่องจากปริมาณใบกระท่อมเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมากส่งผล ย่อมส่งผลราคาขายตามท้องตลาดที่วางขายกันทั่วไป คงเหลือเพียงกิโลกรัมละ 150-180 บาท (เหลือเพียง 30% จากราคาแรกเริ่ม) และนโยบายกัญชาเสรี เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ราคาใบกระท่อมในท้องตลาดลดลงเป็นอย่างมาก
จากปัญหาดังกล่าวและคุณสมบัติของใบกระท่อม คณะผู้จัดทำจึงต้องการเพิ่มมูลค่าของใบกระท่อม จึงได้แปรรูปใบกระท่อมสดเป็นชาสมุนไพรจากใบกระท่อม จากการศึกษา พบว่าสารสำคัญในพืชกระท่อมเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ได้แก่ ไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งพบเฉพาะในพืชกระท่อม ออกฤทธิ์คล้าย โอปิออยด์ (Opioids) และสาร เซเว่น ไฮดรอกซี่ ไมทราไจนีน (7-Hydroxy Mitragynine) ที่มีฤทธิ์ระงับปวดคล้ายมอร์ฟีน แต่มีความแรงของยาต่ำกว่า ไม่กดระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีสารอัลคาลอยด์ชนิดอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ที่ให้ประโยชน์ในการลดการปวดเมื่อย และต้านอาการอักเสบ ใบกระท่อมยังสามารถใช้รักษาอาการท้องเสีย ใช้ลดน้ำหนัก ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการไอ คลายความเครียด ต้านอาการซึมเศร้า และคลายกล้ามเนื้อลาย และตำพอกรักษาแผล ชาสมุนไพรกระท่อม มีสรรพคุณ ช่วยให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า ลดอาการเหนื่อยล้า บรรเทาอาการปวดเมื่อย ช่วยให้นอนหลับนอกจากนี้คุณสมบัติของใบกระท่อม สามารถที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าของใบกระท่อมได้
ผลงานชิ้นนี้จะสำเร็จไม่ได้เลย หากขาดความร่วมมือร่วมใจกันของ สมาชิกในทีมโครงงานวิทยาศาสตร์ โรงเรียนกาญจนดิษฐ์ ทุกคนและทุกท่านที่เกี่ยวข้อง ที่พร้อมจะสนับสนุนทุกๆ ด้านให้กับนักเรียนของโรงเรียนกาญจนดิษฐ์